สรุปบทความวิทยาศาสตร์

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 15

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 

วัน อังคาร ที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เนื้อหาที่เรียน

**ส่งงานคู่


                อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 7-8 คน เพื่อการออกแบบในการทำกิจกรรม Cooking การให้นักศึกษาออกแบบในการทำอาหารว่าจะทำเมนูอะไรและมีขั้นตอนอย่างไร โดยกลุ่มของเราได้ออกแบบว่าจะทำข้าวคุกสาหร่ายและทำสลัดโรล


ข้าวคลุกสาหร่าย




ขั้นตอนวิธีการทำข้าวคลุกสาหร่าย



1. เตรียมวัตถุดิบในการทำ

ข้าวสวย



ไส้กรอก 


สาหร่าย




ซอสมะเขือเทศ




2. นำสาหร่ายมาคลุกกับข้าวสวย




 3. หั่นไส้กรอกแล้วนำมาตกแต่งบนข้าว จากนั้นบีบซอสมะเขือเทศใส่


สลัดโรล 






ขั้นตอนวิธีการทำสลัดโรล


                    1. เตรียมวัตถุดิบในการทำ


แป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนาม



ผักสลัด



ไส้กรอก



แตงกวา



แครอท




น้ำสลัด





                2. เตรียมน้ำสะอาดใส่ถ้วย เพื่อจุ่มแป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนามให้นิ่ม
                3. เมื่อแป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนามได้ที่แล้ว เอามาแป้งที่ได้มาวางไว้ในจานใหญ่ๆ จากนั้นนำเครื่องเคียงมาจัดวาง (ผักสลัด ไส้กรอก แตงกวา แครอท)
                4. เมื่อห่อเสร็จแล้ว นำมาจัดใส่จานแล้วราดด้วยน้ำสลัด




คำศัพท์ภาษาอังกฤษ


                1. Cooking = การทำอาหาร

                2. Step = ขั้นตอน

                3. Connect = เชื่อมโยง

                4. Design = การออกแบบ

                5. Active unit = หน่วยกิจกรรม


การประเมิน


ประเมินอาจารย์: วันนี้อาจาร์สอนวิธีการสอนเชื่อมโยงคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โดยการทำอาหาร


ประเมินตนเอง : กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมกลุ่ม สนุกสนาน ได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย สนุกสนาน มีจินตนาการที่เพิ่มมากขึ้นในการทำ


ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำงานให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มและช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีในการทำงานดีมาก

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ที่ 14

วันอังคาร ที่ 10เดือนพฤศจิกายน พ.ศ  2563
เวลา 8.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน 
**อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว**
ดูคลิปวีดีโอบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ทดลอง ลงมือปฏิบัติ         กล่องวิเศษ (อุปกรณ์)
            - กะหล่ำปลีสีม่วง 
            - มีด 
            - แก้วน้ำ 
            - น้ำร้อน
            - น้ำมะนาว
            - หลอดดูดน้ำ
            น้ำโซดา
ทดลอง ลงมือปฎิบัติ (กะหล่ำปลีสีม่วง น้ำร้อน ครั้งที่ 1) 
            -เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 
            เอากะหล่ำปลีสีม่วงที่หันเป็นชิ้นเล็กๆมาใส่ในแก้วน้ำ เเละเทน้ำร้อนในแก้วน้ำที่มีกะหล่ำปลีสีม่วง คนๆให้เขาเนื้อเดียวกัน จากน้ำใส่ๆมันทำปฏิกิริยากับกะหล่ำปลีสีม่วงและน้ำร้อน เปลี่ยนสีเป็นสีม่วง
ทดลอง ลงมือปฎิบัติ (กะหล่ำปลีสีม่วง น้ำมะนาว ครั้งที่ 2)    
           - เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 
           เอากะหล่ำปลีสีม่วงใส่ในแก้วน้ำ เเละเทนำ้มะนาวในแก้วน้ำที่มีกะหล่ำปลีสีม่วง คนๆให้เขาเนื้อเดียวกัน กะหล่ำปลีสีม่วงทำปฏิกิริยากับน้ำมะนาว เปลี่ยนสีเป็นสีเเดง

ทดลอง ลงมือปฎิบัติ (กะหล่ำปลีสีม่วง น้ำโซดา ครั้งที่ 3)  
            เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 
            เอากะหล่ำปลีสีม่วงใส่ในแก้วน้ำ เเละเทน้ำโซดาในแก้วน้ำที่มีน้ำกะหล่ำปลีสีม่วง คนๆให้เขาเนื้อเดียวกัน กะหล่ำปลีสีม่วงทำปฏิกิริยากับน้ำโซดา เปลี่ยนสีเป็นสีชมพู่ออน
จากการทดลอง 
            - การสังเกต 
            เก็บข้อมูล 
            การเปลี่ยนแปลง 
            สรุปข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงจากตำราหรือผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์ว่ามันใช่หรือเปล่า 


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

            1. Observing = การสังเกต 
            2. Purple cabbage = กะหล่ำปลีสีม่วง 
            3.Straw = หลอดดูดน้ำ
            4.Reaction = ปฏิกิริยา 
            5.Change = การเปลี่ยนแปลง
การประเมิน 

              ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา และอธิบายงานที่มอบหมายให้นักศึกษาเข้าใจ

              ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย ไม่เสียงดังรบกวนขณะที่อาจารย์สอน

              ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายทำงานตามที่อาจารย์มอยหมายไว้













วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สรุปวิจัยวิทยาศสาสตร์

 หน้าหลัก: บทเรียน เรื่อง การเขียนผังงาน

LINE สติ๊กเกอร์ทางการ - ตัวละครซานริโอ 4 สวีทหวานน่ารัก  ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวสรุปวิจัยวิทยาศสาสตร์ LINE สติ๊กเกอร์ทางการ - ตัวละครซานริโอ 4 สวีทหวานน่ารัก  ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหว
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 

ของ 
เอราวรรณ ศรีจักร 

หลักการและเหตุผล 
            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดหัวเรื่องการเรียนตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain-Based Learning) ซึ่งวิธีการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนกระทำด้วยความคิดการแสดงออกอย่างมีเหตุมีผลตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียนและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ทุกครั้งในการเรียนรู้โดยมีเจตนาเพื่อใช้ในการทบทวนฝึกการขีดเขียนจากการสังเกตการจำแนกประเภทการสื่อสารและการลงความเห็นซึ่งตรงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและเป็นการส่งเสริมการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาของผู้เรียนให้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างมีคุณภาพซึ่งส่งผลทำให้เป็นผู้มีความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์มีทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆสามารถพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นได้ดีทั้งนี้ครูมีบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่นเพลิดเพลินแสดงการยอมรับในความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียนพร้อมชี้แนะและเสริมข้อความรู้ที่ผู้เรียนค้นพบจากชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์และรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับเด็กปฐมวัย ความมุ่งหมายของการวิจัย 
            ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้ 
    1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 
    2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ความสำคัญของการวิจัย 
            ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่น ๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย             ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
          - ประชากร 
            ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาล ธ นินทรเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2
กลุ่มตัวอย่าง 
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาล ธ นินทรเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียนจากจำนวน 2 ห้องเรียนและผู้วิจัยลุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน

ระยะเวลาในการทดลอง
                การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
             1. ตัวแปรอิสระกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ 
             2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้านคือ 
                        2.1 การสังเกต 
                        2.2 การจำแนกประเภท 
                        2.3 การสื่อสาร 
                        2.4 การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
            1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา 
            2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น              3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึงความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิดการค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้านดังนี้ 
                    3.1 การสังเกตหมายถึงความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หูตาจมูกลิ้นและผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้ 
                    3.2 การจำแนกประเภทหมายถึงความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือนความแตกต่างและความสัมพันธ์ 
                    3.3 การสื่อสารหมายถึงความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกตการทดลองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง 
                    3.4 การลงความเห็นหมายถึงความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล             4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึงงานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของรศ. ดร. กุลยาดันดิผลาชีวะที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำได้รับประโยชน์จริงดังนี้

ขั้นนำ
            เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน

ขั้นสอน
            แบ่งออกเป็น 2 ตอนตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียนและตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน

ขั้นสรุป
            เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้น ๆ 5. ชุดแบบฝึกทักษะหมายถึงแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (kan-Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดยดร. กุลยาตันติผสาชีวะจำนวน 4 เรื่องคือการสังเกตพืชสัตว์และโลกของเรา

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 
                1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือทักษะการสังเกตทักษะการสื่อสารและทักษะการลงความเห็นและอยู่ในระดับดี 1 ทักษะคือทักษะการจำแนกประเภท 
                2.พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.

สรุปวิจัยคณิตศาสตร์


สรุปบทความสรุปวิจัยคณิตศาสตร์ สรุปบทความ

หนังสือเสริมความรู้ด้านคณิตศาสตร์ - STEM CENTER THAI : Inspired by ...

เรื่อง สรุปวิจัยคณิตศาสตร์ เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์ค ของวรินธร สิริเตชะ

        
            วรินธรสิริเตชะ. (2550). การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์ค. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: อาจารย์ดร. สุจินดาขจรรุ่งศิลป์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราภรณ์บุญส่งการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวคิดออร์ฟซูคเวิร์คก่อนและหลังการทดลองกลุ่มทดลองที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นเป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 4 – 5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดออร์ฟซูคเวิร์คเป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 40 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือแผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One-group pretest – postest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t – test สำหรับ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ด้านการรู้ค่าจำนวนด้านการเปรียบเทียบด้านอนุกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
        เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามคิดแนวออร์ฟซูคเวิร์คก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญของการวิจัย 
        ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้เลือกใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กโดยได้รับประสบการณ์ดนตรีตามแนวคิดออร์ฟซูคเวิร์คให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย 
        ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
        ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 4 – 5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 60 คนของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

ตัวแปรที่ศึกษา 
        1. ตัวแปรอิสระคือการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์ค 
        2. ตัวแปรตามคือทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ
        1. เด็กปฐมวัยหมายถึงนักเรียนอายุ 45 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต                 2.การจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คหมายถึงการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดประสบการณ์ทางดนตรีที่เน้นกระบวนการให้เด็กได้มีโอกาสทดลองสำรวจเกี่ยวกับองค์ประกอบของดนตรีซึ่งสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวผ่านสื่อที่หลากหลายโดยใช้สื่อที่ใกล้ตัวเด็กไปจนถึงสิ่งที่ไกลตัวเด็กเช่นเริ่มจากชื่อของเด็กคำง่ายๆมาร้องเล่นประกอบกับจังหวะและใช้จังหวะเป็นส่วนประกอบหลักของดนตรีที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจัดหมวดหมู่การรู้ค่า 1-10 อนุกรมการเปรียบเทียบด้วยกระบวนการทางดนตรีที่ผสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนซึ่งประกอบด้วย                 2.1 คำพูด (Speech) หมายถึงวลีหรือคำพูดที่ใช้ติดต่อในชีวิตประจำวันเช่นมีรองเท้า 1 คู่มีน้ำอยู่ในแก้ว 
                2.2 การร้องเพลง (Singing) หมายถึงการเปล่งเสียงร้องออกมาในลักษณะที่มีเสียงสูงต่ำประกอบด้วยจังหวะทำนองและเนื้อร้อง 
                2.3 ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement) หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายตามธรรมชาติเช่นการวิ่งการกระโดดการไถลเป็นต้น 
                2.4 การใช้ร่างกายทำจังหวะ (The Use of Body in Percussion) หมายถึงการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกายเคลื่อนไหวทำจังหวะง่ายๆเช่นการตีตนิ้วการตบมือการย่ำเท้าเป็นต้น 
                2.5 การคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทันใด (Improvisation) หมายถึงการคิตหรือดัดแปลงทำนองเพลงคำพูดหรือลีลาท่าทางท่วงท่าการเคลื่อนไหวด้วยตนเองอย่างอิสระอย่างทันทีทันใด ซึ่งทั้งกิจกรรมทั้ง 5 ข้อนี้นำมาผสมผสานและสอดแทรกเข้ากับแผนการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คพร้อมทั้งใช้สื่อการสอนที่เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวของเด็กและเน้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการได้ใช้สื่อด้วยตนเองอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์และกระตุ้นความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม         3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หมายถึงการแสดงออกถึงความสามารถในการรู้ค่าตัวเลขการจำแนกเปรียบเทียบโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 4 ด้านดังนี้                 3.1 การจัดหมวดหมู่หมายถึงความสามารถในการสังเกตเกี่ยวกับรูปทรงขนาดน้ำหนักจำนวนแล้วหาความสัมพันธ์เพื่อจัดหมวดหมู่ของสิ่งของได้     
                3.2 การรู้ค่าจำนวน 1 -10 หมายถึงความสามารถในการเข้าใจความหมายของจำนวน 1-10 ได้ 
                3.3 การเปรียบเทียบหมายถึงความสามารถในการสังเกตและเปรียบเทียบสิ่งต่างๆในเรื่องของจำนวน (มาก-น้อยเท่ากัน-ไม่เท่ากัน) ปริมาณ (มาก-น้อยหนัก-เบา) ขนาด (เล็ก-กลาง-ใหญ่สั้น-ยาวสูง-ต่ำ) รูปทรงเรขาคณิต (วงกลมสี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม) 
                3.4 อนุกรมหมายถึงความสามารถในการสังเกตจดจำรูปแบบหรือลวดลายหาความสัมพันธ์ของระบบของข้อมูลที่กำหนดให้และสามารถระบุถึงข้อมูลที่หายไปได้ถูกต้อง         4. ความเปลี่ยนแปลงหมายถึงค่าความต่างของคะแนนการวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 

สรุปผลการวิจัย 
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและด้านการจัดหมวดหมู่การรู้ค่าจำนวน 1-10 การจำแนกเปรียบเทียบและอนุกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.






วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ที่ 13

วันอังคาร ที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ  2563
เวลา 8.30 - 12.30 น. 

เนื้อหาที่เรียน
 - อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดิโอ อ่านสร้างสุข โดยเทคนิคการอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง ต้องใช้เทคนิคอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ก็ได้มอบหมายงาน

                        1. ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหานิทานที่ห้องสมุดเพื่อนำมาทำสื่อเพื่อพัฒนาลูกรักในการทำนั้นต้องมีประเด็น ตั้งสมมติฐาน ดำเนินการปฏิบัติ


                    2. ทำ mind map เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ


                    1. The media =สื่อ
                    2. Tale = นิทาน
                    3. Issues = ประเด็น
                    4. Hypothesis = สมมติฐาน
                    5. Conclude = สรุป

การประเมิน

ประเมินอาจารย์อาจารย์มาสอนตรงเวลา และอธิบายงานที่มอบหมายให้นักศึกษาเข้าใจและให้นักศึกษาถ่ายรูปลงกลุ่มไลน์

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย ไม่เสียงดังรบกวนขณะที่อาจารย์สอน

ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายทำงานตามที่อาจารย์มอยหมายไว้