สรุปวิจัยวิทยาศสาสตร์
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
หลักการและเหตุผล
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดหัวเรื่องการเรียนตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain-Based Learning) ซึ่งวิธีการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนกระทำด้วยความคิดการแสดงออกอย่างมีเหตุมีผลตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียนและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ทุกครั้งในการเรียนรู้โดยมีเจตนาเพื่อใช้ในการทบทวนฝึกการขีดเขียนจากการสังเกตการจำแนกประเภทการสื่อสารและการลงความเห็นซึ่งตรงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและเป็นการส่งเสริมการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาของผู้เรียนให้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างมีคุณภาพซึ่งส่งผลทำให้เป็นผู้มีความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์มีทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆสามารถพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นได้ดีทั้งนี้ครูมีบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่นเพลิดเพลินแสดงการยอมรับในความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียนพร้อมชี้แนะและเสริมข้อความรู้ที่ผู้เรียนค้นพบจากชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์และรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับเด็กปฐมวัย
ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่น ๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
- ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาล ธ นินทรเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาล ธ นินทรเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียนจากจำนวน 2 ห้องเรียนและผู้วิจัยลุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน
ระยะเวลาในการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้านคือ
2.1 การสังเกต
2.2 การจำแนกประเภท
2.3 การสื่อสาร
2.4 การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึงความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิดการค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้านดังนี้
3.1 การสังเกตหมายถึงความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หูตาจมูกลิ้นและผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจำแนกประเภทหมายถึงความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือนความแตกต่างและความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสารหมายถึงความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกตการทดลองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
3.4 การลงความเห็นหมายถึงความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึงงานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของรศ. ดร. กุลยาดันดิผลาชีวะที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำได้รับประโยชน์จริงดังนี้
ขั้นนำ
เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน
แบ่งออกเป็น 2 ตอนตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียนและตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป
เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้น ๆ 5. ชุดแบบฝึกทักษะหมายถึงแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (kan-Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดยดร. กุลยาตันติผสาชีวะจำนวน 4 เรื่องคือการสังเกตพืชสัตว์และโลกของเราสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือทักษะการสังเกตทักษะการสื่อสารและทักษะการลงความเห็นและอยู่ในระดับดี 1 ทักษะคือทักษะการจำแนกประเภท
2.พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น