สรุปวิจัยคณิตศาสตร์
เรื่อง สรุปวิจัยคณิตศาสตร์ เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์ค ของวรินธร สิริเตชะ
วรินธรสิริเตชะ. (2550). การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์ค. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: อาจารย์ดร. สุจินดาขจรรุ่งศิลป์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราภรณ์บุญส่งการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวคิดออร์ฟซูคเวิร์คก่อนและหลังการทดลองกลุ่มทดลองที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นเป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 4 – 5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดออร์ฟซูคเวิร์คเป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 40 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือแผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One-group pretest – postest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t – test สำหรับ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ด้านการรู้ค่าจำนวนด้านการเปรียบเทียบด้านอนุกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามคิดแนวออร์ฟซูคเวิร์คก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญของการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 4 – 5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 60 คนของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระคือการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์ค
2. ตัวแปรตามคือทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัยหมายถึงนักเรียนอายุ 45 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนศรีดรุณจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 2.การจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คหมายถึงการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดประสบการณ์ทางดนตรีที่เน้นกระบวนการให้เด็กได้มีโอกาสทดลองสำรวจเกี่ยวกับองค์ประกอบของดนตรีซึ่งสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวผ่านสื่อที่หลากหลายโดยใช้สื่อที่ใกล้ตัวเด็กไปจนถึงสิ่งที่ไกลตัวเด็กเช่นเริ่มจากชื่อของเด็กคำง่ายๆมาร้องเล่นประกอบกับจังหวะและใช้จังหวะเป็นส่วนประกอบหลักของดนตรีที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจัดหมวดหมู่การรู้ค่า 1-10 อนุกรมการเปรียบเทียบด้วยกระบวนการทางดนตรีที่ผสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนซึ่งประกอบด้วย
2.1 คำพูด (Speech) หมายถึงวลีหรือคำพูดที่ใช้ติดต่อในชีวิตประจำวันเช่นมีรองเท้า 1 คู่มีน้ำอยู่ในแก้ว
2.2 การร้องเพลง (Singing) หมายถึงการเปล่งเสียงร้องออกมาในลักษณะที่มีเสียงสูงต่ำประกอบด้วยจังหวะทำนองและเนื้อร้อง
2.3 ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement) หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายตามธรรมชาติเช่นการวิ่งการกระโดดการไถลเป็นต้น
2.4 การใช้ร่างกายทำจังหวะ (The Use of Body in Percussion) หมายถึงการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกายเคลื่อนไหวทำจังหวะง่ายๆเช่นการตีตนิ้วการตบมือการย่ำเท้าเป็นต้น
2.5 การคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทันใด (Improvisation) หมายถึงการคิตหรือดัดแปลงทำนองเพลงคำพูดหรือลีลาท่าทางท่วงท่าการเคลื่อนไหวด้วยตนเองอย่างอิสระอย่างทันทีทันใด ซึ่งทั้งกิจกรรมทั้ง 5 ข้อนี้นำมาผสมผสานและสอดแทรกเข้ากับแผนการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คพร้อมทั้งใช้สื่อการสอนที่เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวของเด็กและเน้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการได้ใช้สื่อด้วยตนเองอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์และกระตุ้นความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หมายถึงการแสดงออกถึงความสามารถในการรู้ค่าตัวเลขการจำแนกเปรียบเทียบโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 4 ด้านดังนี้
3.1 การจัดหมวดหมู่หมายถึงความสามารถในการสังเกตเกี่ยวกับรูปทรงขนาดน้ำหนักจำนวนแล้วหาความสัมพันธ์เพื่อจัดหมวดหมู่ของสิ่งของได้
3.2 การรู้ค่าจำนวน 1 -10 หมายถึงความสามารถในการเข้าใจความหมายของจำนวน 1-10 ได้
3.3 การเปรียบเทียบหมายถึงความสามารถในการสังเกตและเปรียบเทียบสิ่งต่างๆในเรื่องของจำนวน (มาก-น้อยเท่ากัน-ไม่เท่ากัน) ปริมาณ (มาก-น้อยหนัก-เบา) ขนาด (เล็ก-กลาง-ใหญ่สั้น-ยาวสูง-ต่ำ) รูปทรงเรขาคณิต (วงกลมสี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม)
3.4 อนุกรมหมายถึงความสามารถในการสังเกตจดจำรูปแบบหรือลวดลายหาความสัมพันธ์ของระบบของข้อมูลที่กำหนดให้และสามารถระบุถึงข้อมูลที่หายไปได้ถูกต้อง
4. ความเปลี่ยนแปลงหมายถึงค่าความต่างของคะแนนการวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟซูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและด้านการจัดหมวดหมู่การรู้ค่าจำนวน 1-10 การจำแนกเปรียบเทียบและอนุกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น